?แนวทางการใช้เอนไซม์เพื่อตอบโจทย์ปัญหาต้นทุนวัตถุดิบในอาหารสุกรที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
? เนื่องจากในสภาวะปัจจุบันวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับราคาเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัตถุดิบกลุ่มพลังงาน เช่น ข้าวโพด ปลายข้าว ข้าวสาลี เป็นต้น กระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ทุกภาคส่วน และคาดว่าปัญหาราคาวัตถุดิบอาหารแพงจะยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องในระยะยาว ซึ่งการใช้เอนไซม์เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ตอบโจทย์ปัญหาที่เผชิญอยู่ ณ ปัจจุบัน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ASP คัดสรรเอนไซม์ที่มีคุณภาพและครบถ้วนเพื่อมาตอบโจทย์การย่อยอาหารของสุกรให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดและลดต้นทุนการผลิตสุกรให้ได้มากที่สุด
?บีไซม์ เอ็นเอสพี (Bezyme NSP) และ คอนเซนไซม์ เอ็นเอสพี ทู (Concenzyme NSP II) เป็นเอนไซม์ที่มีความจำเพาะ ประกอบไปด้วย
• เอนไซม์เอ็นเอสพีเชิงซ้อน(Complex NSP enzyme)
• ไฟเตส (Phytase)
• กลูโคอะไมเลส (Gluco-amylase)
• อะซิดิกโปรตีเอส (Acidic protease)
โดยเอนไซม์ทำงานเสริมฤทธิ์กันในการย่อยวัตถุดิบอาหารสัตว์ ประสิทธิสูงทั้งในสุกรและสัตว์ปีก ซึ่งบีไซม์ เอ็นเอสพีและคอนเซนไซม์ เอ็นเอสพี ทู เป็นเอมไซม์ที่มีเปอร์เซ็นต์การย่อยได้สูงที่สุดในท้องตลาด และยังมีผลการทดลองยืนยันในการเพิ่มความคุ้มค่าการลงทุน (ROI) และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้จริง
แนวทางการใช้เอนไซม์สามารถเลือกใช้ได้ 2 รูปแบบ คือ
- รูปแบบผสมในสูตรอาหาร(Matrix Value) เป็นแนวทางการใช้เพื่อลดวัตถุดิบอาหารสัตว์ในสูตรอาหาร โดยการใช้แบบ Full matrix จะสามารถลดการใช้ข้าวโพดได้ 8.77 กิโลกรัมต่อตัว หรือลดต้นทุนอาหาร 1.51 บาทต่อกิโลกรัมของสุกร หากฟาร์มมีสุกรขุน 20,000 ตัว จะสามารถลดต้นทุนได้ถึง 2,268,410 บาท
- รูปแบบโรยบนอาหาร (Top on) เป็นแนวทางการใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสุกร การใช้ในรูปแบบนี้จะเพิ่ม ADG และลด FCR ได้ จากการทดลองพบว่าสามารถเพิ่ม ADG ได้ 10 กรัมต่อตัวต่อวัน คิดเป็นการลดวันเลี้ยงได้ทั้งสิ้น 2 วัน ลดการใช้อาหารได้ 5 กิโลกรัมต่อตัว หรือคิดเป็นต้นทุนค่าอาหารลดลง 60 บาทต่อตัว หากฟาร์มมีสุกรขุน 20,000 ตัว จะสามารถลดต้นทุนได้ถึง 1,200,000 บาท
BezymeNSP #ConcenzymeNSP #NSPEnzyme #MatrixValue #TopOn #DecreaseFeedCost #ลดต้นทุนอาหารสัตว์ #ImprovePerformance #เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต #Swine #สุกร #ASP #Differenceforyourbenefits #VetProdutsGroup #เครือเวทโปรดักส์