ปัจจุบันธุรกิจการเลี้ยงสุกรจะมีการใช้วัตถุดิบอาหารหลักเป็นจำพวกกลุ่มพืชให้พลังงาน เช่น ข้าวโพด ปลายข้าวและมันสัมปะหลัง เป็นต้น ซึ่งในวัตถุดิบจำพวกนี้จะมีปริมาณของคาร์โบไฮเดตที่ไม่ใช่แป้ง (Non starch polysaccharide; NSP)และไฟเตท (Phytate ) สูง โดยที่ตัวสัตว์จะไม่สามารถผลิตเอนไซม์ในการย่อยสารอาหารกลุ่มพวกนี้ได้ นอกจากนี้เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกมีแนวโน้มที่สูงขึ้นส่งผลทำให้ราคาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ เช่น ข้าวโพด มีราคาที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ตามมา จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ ASP คัดสรรเอนไซม์ที่มีคุณภาพและครบถ้วนเพื่อมาตอบโจทย์การย่อยอาหารของสุกรให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุดและลดต้นทุนการผลิตสุกรให้ได้มากที่สุด
บีไซม์ เอ็นเอสพี (Bezyme NSP) เป็นเอนไซม์ที่มีความจำเพาะ ประกอบไปด้วย เอนไซม์เอ็นเอสพีเชิงซ้อน(Complex NSP enzyme) ไฟเตส (Phytase) กลูโคอะไมเลส (Gluco-amylase) และอะซิดิกโปรตีเอส (Acidic protease) โดยโมเดล-ซี เป็นเอนไซม์เอ็นเอสพีรวมที่มีเอนไซม์มากกว่า 5 ชนิด มีการทำงานเสริมฤทธิ์กัน ไฟเตสที่เลือกใช้เป็นอีโคไลน์ไฟเตสที่สามารถย่อยไฟเตทได้ตั้งแต่ส่วนต้นของทางเดินอาหาร กลูโคอะไมเลส (Gluco-amylase) ที่เลือกใช้สามารถย่อยน้ำตาลโมเลกุลใหญ่ทั้งสายตรงและสายกิ่งให้กลายเป็นกลูโคส ทำให้ตัวสัตว์สามารถดูดซึมนำไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว อะซิดิกโปรตีเอสที่เลือกใช้มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับสัตว์กระเพาะเดี่ยว เช่น สุกร เป็นต้น
ซึ่ง บีไซม์ เอ็นเอสพี เป็นเอมไซม์ที่มีเปอร์เซ็นต์การย่อยได้สูงที่สุดในท้องตลาด และยังมีผลการทดลองยืนยันในการเพิ่มความคุ้มค่าการลงทุน (ROI) และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้จริง นอกจากนี้บีไซม์ เอ็นเอสพียังสามารถลดปริมาณการใช้ข้าวโพดได้มากถึง 5.42% ซึ่งคำนวณจากสูตรอาหารสุกรอนุบาลถึงสุกรขุน ฟาร์ม 1,000 แม่ที่ให้ลูก 24,000 ตัว/ปี สามารถลดต้นทุนการใช้ข้าวโพดได้ถึง 3,037,309 บาทต่อปีเมื่อใช้เอนไซม์ในรูปแบบ เมทริกซ์