สรุปสัมมนา “จีนเปิดด่าน….โอกาสทองของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อไทย”

สรุปเนื้อหาจากงานสัมมนาออนไลน์ผ่าน Facebook Live

หัวข้อ “จีนเปิดด่าน….โอกาสทองของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อไทย”

วันที่ 18 มีนาคม 2564 เวลา 13.00-15.00 น.  สถานที่ ลุงเชาวน์ฟาร์ม จ.สุพรรณบุรี

โดย เอเอสพี รูมิแน้นท์ (ASP Ruminant), เครือเวทโปรกดักส์

1. ภาคผู้เลี้ยงและการรับซื้อเพื่อการส่งออก

หัวข้อ        “ความพร้อมของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อไทย และผู้ซื้อ – ผู้จำหน่ายในการส่งออก โคเนื้อ สู่ตลาดโลก”

วิทยากร  คุณเรวัต วัชราไทย และคุณกชกร วัชราไทย จากลุงเชาวน์ฟาร์ม ประเทศไทย

  1. จากกรณีที่มีการเปิดด่านประเทศจีนลาว คุณปุ้ยมองว่า ถึงแม้ว่าเดิมลุงเชาวน์ฟาร์มสามารถส่งออกต่างประเทศได้ตามปกติ แต่หลังโควิดครั้งนี้สถานการณ์ไม่เหมือนเดิมดูจากการที่จีนไปสร้างโรงเชือดมาตรฐานใหม่ถึง 2 แห่ง บ่งบอกถึงว่าจีนกำลังยกระดับมาตรฐานและใช้สินค้าที่มีมาตรฐานเท่านั้น  มาตรฐานเดิมที่เรามีอาจไม่ได้ผลถ้าหากตัวแปรเปลี่ยนแปลงไปนั่นคือหากประเทศลาวมีการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ที่สูงขึ้น เราต้องปรับตัวตามไปด้วย  
  2. จากกรณีที่มีคำถามว่าราคาวัวในประเทศสูงขึ้น  กินใช้กันในประเทศก็ไม่พอแล้วยังต้องส่งออกอีกหรือ?  คุณปุ้ยมองว่าเป็นโอกาสของประเทศเรามากกว่าเพราะเรายิ่งมีช่องทางตลาดมากเท่าไหร่  ก็จะทำให้เรามีความมั่นใจในการผลิตวัวต้นน้ำมากขึ้นเท่านั้น  ร่วมกับสถานการณ์วัวนำเข้าก็มีราคาแพงและสถานการณ์ในประเทศข้างเคียงก็ยังไม่คงที่แต่มองว่าประเทศไทยเป็นจุดได้เปรียบที่สามารถเชื่อมโยงได้กับทุกประเทศ
  3. ทางลุงเชาวน์ฟาร์มเล็งเห็นถึงปัญหาจึงหันมาโฟกัสวัวต้นน้ำมากขึ้นโดยทำสายพันธุ์ลูกผสมบราห์มัน   และลูกผสมสายพันธุ์ยุโรป  เช่น ชาร์โรเล่ และกำลังพัฒนาสายพันธุ์ลูกผสมช็อทฮอร์นทั้งสีขาว ดำ และแดงซึ่งมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดี  อัตราแลกเนื้อที่ดี และยังสามารถขายได้ในตลาดทุกรูปแบบ
  4. มาตรฐานของลุงเชาวน์ฟาร์มได้แก่ มาตรฐานGAP GFM ฟาร์มปลอดสารเร่งเนื้อแดง ฟาร์มปลอดโรคปากเท้าเปื่อย
  5. คุณปุ้ย ฝากสำหรับคนที่กำลังจะเลี้ยงวัว ต้องมีจุดยืนที่ชัดเจนว่าจะไปทางไหน เพราะในวงการมีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทุกตลาดมีตลาดของตัวมันเอง
  6. ลุงปื๊ด ฝากแนะนำใช้แม่ช็อทฮอร์นไปผสมกับแม่บราห์มัน ออกลูกมา ทางลุงเชาวน์ฟาร์มรับซื้อ

ถาม-ตอบ

คำถามที่ 1  :  ตลาดโคเนื้อมีกี่กลุ่ม ?

ตอบ : ตลาดไทยมีตลาดหลากหลาย ไทยเราควรแบ่งงานกันทำ ทั้งผู้ผลิตวัวขุนหรือผู้ผลิตวัวต้นน้ำ ไม่มีอะไรดีที่สุด แต่ ณ ตอนนี้เราขาดวัวที่มีคุณภาพ 

คำถามที่ 2 : ถ้าทำวัวปลอดสาร ทำได้จริงไหม คุ้มค่าไหม ?

ตอบ : ทำได้ มาตรฐานตลาดถูกยกสูงขึ้น การขุนวัวสามารถทำได้ตลอด อยากให้ส่งเสริมตลาดวัวต้นน้ำมากขึ้น โดยพัฒนาตั้งแต่สายพันธุ์เลย

คำถามที่ 3 : ลุงเชาวน์ฟาร์มรับซื้อวัวจากภายนอกไปด้วยมั้ย ?

ตอบ : รับที่น้ำหนัก 300-400 กก. ถ้าหากมากกว่านี้ติดต่อทาง ASP Ruminant/Vet Products Group

2. ตลาดโคเนื้อ ประเทศจีน และเวียดนาม

หัวข้อ “จีน และ เวียดนาม กับโอกาสทางการตลาดของผู้เลี้ยงโคเนื้อไทย”

วิทยากรประเทศจีน 

Mr. Shi Peng, Xishuangbanna Yongrunhe Assets Co., Ltd.,(President) and Xishuangbanna Hengyi Import and Export Co., Ltd., ( Director) ผู้นำเข้าโคเนื้อรายใหญ่ ประเทศจีน และ น.สพ.คมกริช  บุญขจร Country Manager, Vet Products China

  1. จีนเปิดโปรเจคโคเนื้อเพื่อการค้าในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยให้มณฑลยูนนานเป็นศูนย์กลาง มีโรงเชือดขนาดใหญ่ 3 แห่ง  โดยอยู่ที่เมืองสิบสองปันนา ซึ่งเชื่อมต่อกับเวียดนาม ลาว และพม่าโดยเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญจากจีนสู่อาเซียน   โดยจีนให้ลาวและพม่าเป็นจุดกักโรคก่อนเข้าสู่โรงเชือดเพื่อนำไปบริโภคในประเทศ  แต่เนื่องจากด่านทางฝั่งพม่าสถานการณ์ไม่ปกติจึงทำให้ด่านฝั่งลาวนั้นเปิดก่อน
  2. ที่ประเทศลาวจะทำการกักโคที่เมืองสิงห์เป็นเวลา 45 วันก่อนไปจีน  โคจะถูกเชือดที่โรงเชือดเฉินคังซึ่งสามารถเชือดได้ 1,500-2,000 ตัว/วัน  จากจำนวนทั้งหมดที่จีนต้องการ 500,000 ตัว/ปี   คนจีนบริโภคเนื้อวัว 9,000,000 ตัน/ปี แต่สามารถผลิตเองได้เพียง 6,000,000 ตัน/ปี ส่วนที่เหลือจึงต้องนำเข้าจากบราซิล อาร์เจนตินา และออสเตรเลียโดยรวม 2,000,000 ตัน/ปี  ส่วนที่เหลือนำเข้าจากอาเซียน
  3. หน่วยงานศุลกากรจีนประกาศอนุญาตให้นำเข้าโคเนื้อเพื่อการเชือดจากประเทศลาว โดยช่วงเวลานี้กำลังทดสอบระบบด้วยจำนวนประมาณ 3,000 ตัว  เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไปจึงจะสามารถเปิดแบบเต็มระบบ
  4. บริษัทเฮิงอี้มีโปรเจคนำวัวเข้าสู่ประเทศจีนผ่านทางลาว  โดยบริษัทนี้ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลมณฑลยูนนานจาก300 กว่าบริษัทให้เป็นตัวแทน 1 ใน 8 บริษัทที่สามารถนำวัวเข้าประเทศจีนได้  โดยเป้าหมายของบริษัทเฮิงอี้อยู่ที่ 100,000 ตัว/ปี  ตอนนี้บริษัทได้สร้างคอกกักที่ประเทศลาวเพื่อรองรับไว้แล้ว
  5. ข้อกำหนดในการนำเข้าวัวของประเทศจีนได้แก่ ลูกผสมยุโรปชาร์โรเล่ ซิมเมนทัล หรือวัวพื้นเมืองน้ำหนัก 300-500 กิโลกรัม  มีเอกสารผ่านการทดสอบปลอดสารเร่งเนื้อแดง
  6. ประเทศจีน ฝากว่าประเทศจีนต้องการวัวเยอะมากอยากให้ไทยร่วมมือยาวๆ และทำคุณภาพให้ดีที่สุด นอกจากนี้ทางบริษัท เวทโปรดักส์ ไชน่า ยังเป็นอีกภาคส่วนที่ช่วยขยายตลาดให้กับประเทศไทย เพิ่มโอกาสให้กับประเทศไทยต่อไป

ถาม-ตอบ

คำถามที่ 1 : ราคาจีนใครเป็นผู้กำหนด ?

ตอบ : เรากำหนดทั้งคู่ และเป็นไปตามตลาด ซื้อราคาที่หน้าฟาร์มก็ได้ ที่ด่านก็ได้ แต่ที่เมืองสิงเลยดีที่สุด ปัจจุบันราคาอยู่ที่ 23-26 หยวน ขึ้นกับสายพันธุ์/น้ำหนัก

คำถามที่ 2 : วัวประเทศจีนต้องปลอดสารเท่านั้นใช่มั้ย ?

ตอบ : ใช่เพราะเน้นของที่ปลอดภัยและคุณภาพดีกับคนจีน หากเจอสารจะ Reject ทันที

คำถามที่ 3 : ช่องทางการติดต่อขายวัวมาที่จีน ?

ตอบ : มีตัวแทนหลายทางในการนำเข้าจีน เพราะมีโควตาถึง 8 ราย

คำถามที่ 4 : วัวลูกผสมขาวดำชาร์โรเล่หรือขาวดำบราห์มันรับหรือไม่ ?

ตอบ : รับ โดยอายุน้อยกว่า 4 ปี น้ำหนัก 350-400 กก. (อาจมากถึง 500 กก.ก็ได้) รับหมดทุกสายพันธุ์

วิทยากรประเทศเวียดนาม

Ms.Vu Huong Giang, Purchasing Manager, บริษัท Hoa Phat Group ผู้นำเข้าโคเนื้อรายใหญ่ ประเทศเวียดนาม และ น.สพ.ภุชงค์  ไชยคำภา  Country Manager, Vet Products Vietnam

  1. เวียดนามมีความต้องการวัวค่อนข้างมาก อัตราการบริโภค 10 กก./คน/ปี มีการนำเข้าโคจากออสเตรเลีย ลาว มากมาย แต่ช่วงนี้ต้องการวัวไทยมากเพราะราคาวัวออสเตรเลียสูงขึ้น
  2. บริษัท หว่าฟัด มีวัวอยู่ประมาณ 140,000 ตัว ปีหน้าคาดการณ์นำเข้า 250,000 ตัว และจากไทย 40,000 ตัว
  3. ข้อกำหนดในการนำเข้าวัวของประเทศเวียดนามได้แก่ลูกผสมชาร์โรเล่ แองกัส ลูกผสมพื้นเมือง น้ำหนัก 300-500 กก.ขึ้นไป มีเอกสารผ่านการทดสอบปลอดสารเร่งเนื้อแดงและปลอดการใช้ฮอร์โมน
  4. ราคาตามฤดูกาล หรือตามท้องตลาด อาจเป็นราคาที่หน้าฟาร์มไทย หรือราคาส่งที่เวียดนามเลยก็ได้ แล้วแต่ตกลงกัน
  5. ข้อกำหนดการกักโรคหลังจากเข้าเวียดนามมาแล้วต้องมีการกักโรคที่เวียดนามก่อน 30 วันด้วย มีการตรวจโดยกรมปศุสัตว์ของเวียดนาม
  6. ประเทศเวียดนาม ฝากว่าเค้ายังกังวลเรื่องความเพียงพอของปริมาณวัวจากเกษตรกรไทย และต้องการวัวที่มีคุณภาพ โดยอาศัยตัวแทนในการนำวัวเข้าเวียดนาม และนอกจากนี้เกษตรกรต้องกลับไปดูว่าต้นทุนตัวเองได้ไหมด้วย

ถาม-ตอบ

คำถามที่ 1 : ราคาเวียดนามใครเป็นคนกำหนด ?
ตอบ : ตามความอุปสงค์-อุปทานของตลาด ของเวียดนามแบ่งตามพื้นที่ เหนือกลางใต้ และขึ้นกับสายพันธุ์ของวัว

คำถามที่ 2 : เวียดนามต้องการวัวผอม/อ้วน หากมี 450 กก. สามารถส่งได้ไหม ?

ตอบ : เวียดนามรับหมด แต่ถ้าวัวตัวเล็กขอให้ไม่อายุเยอะเกินไป

คำถามที่ 3 : วัวลูกผสมขาวดำชาร์โรเล่หรือขาวดำบราห์มันรับหรือไม่ ?

ตอบ : รับ ประเทศเวียดนามมีความเป็นห่วงเรื่องใดหากรับวัวจากไทย – อยากให้มีปริมาณวัวที่เพียงพอในการส่งให้เวียดนาม และอีกเรื่องคือเป็นห่วงเรื่องสารเร่งเนื้อแดง

คำถามที่ 4 : ประเทศเวียดนามมีการสกรีนซ้ำมั้ย ?

ตอบ : ในช่วง 30 วันของการกักโรคจะมีการตรวจซ้ำ โดยกรมปศุสัตว์ของเวียดนาม โดยตรวจทั้ง การปลอด FMD และ ปลอดสารเร่งเนื้อแดง

3. บทบาทของสมาคมฯ เพื่อการส่งออกโคเนื้อสู่ต่างประเทศ

หัวข้อ        “บทบาทของสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย เพื่อการส่งออกโคเนื้อสู่ต่างประเทศ”

วิทยากร  นายสุรชัย เปี่ยมคล้า เลขานุการสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย

  1. สถานการณ์ภาพรวมของการผลิตโคเนื้อในประเทศไทย ไม่เพียงพอ ได้แก่ แม่พันธุ์ไม่เพียงพอในการผลิตลูก
  2. ทำอย่างไรให้เพียงพอ สมาคมร่วมกับกรมฯ และธกส. ทำโครงการเสนอชดเชยดอกเบี้ย เหลือร้อยละ 2 บาท/ปี จาก 6 บาท/ปี เนื่องจากการผลิตลูก 1 ตัวต้องใช้เวลาในการผลิต เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต นอกจากนี้ยังทำการปรับปรุงสายพันธุ์ เพื่อให้วัวไทยโตได้วันละ 1 กก.
  3. ปัจจุบันตลาดนำการผลิต อย่างเช่น จีนมีความต้องวัวนำเข้า 500,000 ตัว ทำให้มีโอกาสส่งออกได้สูงขึ้น ทำอย่างไรให้ภายในประเทศจัดสมดุลกันให้ดี
  4. เราจะต้องเตรียมความพร้อมจากมาตรฐานการเลี้ยงที่สูงขึ้น โดยเลขาฯสมาคม มองว่าเป็นโอกาสให้กับเกษตรกรไทย
  5. คุณสุรชัย ฝากเราควรปรับตัวเพิ่มมาตรฐานให้กับตัวเองเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้กับตัวเอง เดินเข้าไปคุยกับกรมปศุสัตว์เลยจะทำให้ได้ข้อมูลมากขึ้น และควรปฏิบัติตามกฏหมายและตามระเบียบด้วย

ถาม-ตอบ

คำถามที่ 1 : ทิศทางของวัวเนื้อไทยไปทางไหนดี ?

ตอบ : ขึ้นกับความพร้อมและต้นทุนการผลิตของแต่ละคน คนเป็นผู้ผลิตต้องทราบต้นทุนของตัวเอง เพราะโครงสร้างของพื้นที่ แหล่งพืชอาหารหยาบ ต่างกัน ถ้ามองภาพรวมตอนนี้ควรไปอยู่ที่แม่เลี้ยงลูก เพราะต้นทุนน้อย และค่อนข้างเหมาะกับคนไทยมาก

คำถามที่ 2 : วัวต้นน้ำเราจะเพียงพอได้ประมาณอีกกี่ปี ?

ตอบ : ตอนนี้มีแม่วัว 1.5 ล้านตัว แต่มีลูกวัวแค่ 0.7 ตัว ทำอย่างไรให้เราสามารถผลิตได้ถึง 80% ดังนั้นโจทย์คือต้องเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของแม่พันธุ์ให้ได้ อีก 3 ปีข้างหน้าก็ยังมีช่องว่างได้อีกเยอะ

คำถามที่ 3 : ในประเทศไทย มีโอกาสในการขยายฟาร์มเลี้ยงวัวขุนมากน้อยแค่ไหน ?

ตอบ : เปิดกว้างมาก ยังไงก็ขายได้ถ้ามีการผลิตวัวเนื้อที่มีคุณภาพ

4. ระบุระเบียบและขั้นตอนการส่งออกอย่างละเอียด

โดย  สพ.ญ.ปวัสดา แสนล้อม Senior Products Specialist, ASP Ruminant

ระเบียบและขั้นตอนการส่งออกอย่างละเอียด ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1 กักโค ณ สถานกักกันสัตว์ที่ได้รับรองเพื่อการส่งออกโดคมีชีวิตจากกรมปศุสัตว์ เป็นเวลา 21 วัน

ขั้นตอนที่ 2 ติดเบอร์หู (NID), ฉีดวัคซีนป้องกันโรค FMD 1 เข็ม (ทำการบันทึกเลขลอท/วันที่ทำวัคซีน), ถ่ายพยาธิภายในและภายนอก

ขั้นตอนที่ 3 ขออนุญาตเคลื่อนย้ายจากคอกกักสัตว์ต้นทางไปยังด่านกักสัตว์ท่าออก (ใบ ร.3 และ ใบ ร.4)

ขั้นตอนที่ 4 ด่านกักกันสัตว์ท่าออกฯ ตรวจสอบเอกสาร, ตรวจสุขภาพสัตว์, ออกใบอนุญาตนำเข้าสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร(ใบ ร. 9) ใบรับรองสุขภาพสัตว์ (Veterinary Health Certificate) โดยรับรองตามเงื่อนไขของ สปป.ลาว และ Form D หรือหนังสือรับรองถิ่นกำเนิด

*******************จบงานสัมมนา******************

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า