วิธีกำจัดแมลงรบกวนในฟาร์ม

วิธีกำจัดแมลงรบกวนในฟาร์ม​วัว

📌 ปัญหาแมลงรบกวนภายในฟาร์ม ถือเป็นอีกปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคส่วนใหญ่มักจะพบเจอ ซึ่งแมลงรบกวนเป็นพาหะที่นำพาเชื้อโรคจากสิ่งแวดล้อมภายนอกเข้ามาสู่โคภายในฟาร์ม ส่งผลโคให้มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อก่อโรคและเกิดปัญหาสุขภาพตามมาอีกมากมาย ดังนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคควรตรวจสอบแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง เพื่อเป็นการกำจัดต้นตอของปัญหา ร่วมกับการตรวจประเมินสุขภาพของโคอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่มีพาหะมาจากแมลงภายในฟาร์มอย่างยั่งยืน

📌 ตัวอย่างแมลงที่เป็นพาหะก่อโรค

1️⃣ แมลงพาหะที่ก่อให้เกิดโรคพยาธิเม็ดเลือด ได้แก่ ยุง ริ้น เห็บ เหลือบ เป็นต้น

2️⃣ แมลงพาหะที่ก่อให้เกิดโรคระบาดติดต่อ (โรคปากเท้าเปื่อย และโรคลัมปี) ได้แก่ แมลงวันคอก เป็นต้น

📌 แนวทางการกำจัดแมลงรบกวนในฟาร์ม

1️⃣ การจัดการและสุขาภิบาลโดยรอบทุกพื้นที่ภายในฟาร์ม เช่น มูล บ่อน้ำ น้ำขัง โรงเรือน โรงเก็บอาหาร เพื่อกำจัดต้นตอแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงและช่วยลดการแพร่กระจายต่อในวงกว้าง

2️⃣ การทำความเข้าใจวงจรชีวิตของแมลงแต่ละชนิด เพื่อที่จะสามารถทำการตัดวงจรชีวิตได้อย่างตรงจุด

3️⃣ การใช้สารเคมีกําจัดแมลง ในปัจจุบันสารเคมีกําจัดแมลงจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ตามชนิดของสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เป็นหลัก ดังนี้

🔺กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ โดยสารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้เป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น ดีดีที(DDT), ดีลดริน(Dieldrin), ออลดริน(Aldrin), ท็อกซาฟีน(Toxaphene), คลอเดน(Chlordane) และลินเดน(Lindane) เป็นต้น

🔺กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ ยกตัวอย่างเช่น มาลาไธออน(Malathion) และเฟนนิโตรไธออน(Fenitrothion) เป็นต้น

🔺กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล(Carbaryl), คาร์โบฟูแรน(Carbofuran) และเมโทมิล(Methomyl) เป็นต้น

🔺กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้น โดยมีความคล้ายคลึงกับโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารสกัดธรรมชาติที่ได้จากพืชไพรีทรัม ยกตัวอย่างเช่น เดลตาเมธริน(Deltamethrin), เพอร์เมธริน(Permethrin), เรสเมธริน(Resmethrin), ไซเพอร์เมทริน(Cypermethrin) และไบโอเรสเมธริน(Bioresmethrin) เป็นต้น

✅ กลุ่มสารเคมีที่เหมาะสมต่อการใช้กำจัดแมลงรบกวนภายในฟาร์ม แนะนำเป็นกลุ่มไพรีทรอยด์และทางที่ดีควรจะเป็นชนิดไม่มีกลิ่น เนื่องจากถ้าใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นแรง จะยิ่งเป็นการกระตุ้นให้แมลงวันบินหนี ยกตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม microencapsulated pyrethroids หรือ etofenprox ที่มีความปลอดภัยและสามารถฉีดพ่นบนตัวสัตว์โดยตรงได้ แต่จะมีราคาค่อนข้างสูง

📌 แหล่งอ้างอิงข้อมูล

1️⃣ กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ภายใต้กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช. ที่มา: http://envocc.ddc.moph.go.th/contents/view/106

2️⃣ ชัยวัฒน์ จรัสแสง. 2021. แนวทางการควบคุมและรักษาโรคลัมปี. คณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ที่มา: https://www.facebook.com/chaiwat.jarassaeng/postspfbid0VHQeNSjnxxMQ3gnSqD2wWAPAwa7t5kK22giC8yfkzxcKSQC4FrGgNrL8HgG9upi3l

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า