รู้ก่อน!?ฟาร์มไก่เสียหายหนัก! การจัดการโรคหวัดหน้าบวมในไก่

รู้ก่อน!?ฟาร์มไก่เสียหายหนัก การจัดการโรคหวัดหน้าบวมในไก่

              โรคหวัดหน้าบวมมักเจอในช่วงเปลี่ยนฤดูกาลโดยเฉพาะช่วงฝนต่อหนาว เจอได้ประปรายเป็นระยะๆ เป็นโรคที่ก่อความเสียหายค่อนข้างสูง  เมื่อพบในฟาร์มแล้วการแก้ไขหรือนำเชื้อออกจากฟาร์มเป็นเรื่องยาก ไก่ป่วยที่ติดเชื้อและหายป่วยมีโอกาสในการปล่อยเชื้อโดยเฉพาะในไก่พันธุ์ซึ่งส่งผลกระทบต่อวงจรการผลิตของฟาร์ม

              ปัจจัยสำคัญคือไก่สาวที่นำเข้ามาทดแทนหรือเพิ่มในฝูงมีโอกาสที่จะปนเปื้อนเชื้อเข้ามาในฟาร์ม รวมทั้งฟาร์มระบบเปิดที่มีความเสี่ยงสูงกว่าในการป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ เช่น นก หนูและแมลง การป้องกันเชื้อเรื่องสุขศาสตร์ของบุคคลก็ต้องให้ความสำคัญและปฏิบัติตามอย่างเข้มงวด

              วัคซีนในการป้องกันโรคก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการป้องกันปัญหา โดยเชื้อที่พบในประเทศไทย ได้แก่ โรคหวัดหน้าบวมชนิด A, B, C และ B variants ควรใช้วัคซีนให้มีความครอบคลุมกับเชื้อในพื้นที่อย่างน้อย 3 ชนิด คือ A, B ,C หรืออาจใช้ที่มีชนิด B variants ร่วมด้วย เนื่องจากวัคซีนไม่ได้มีการป้องกันโรคข้ามสายพันธุ์ สามารถทราบชนิดของเชื้อในพื้นที่โดยการส่งตัวอย่างไก่ส่งห้องปฏิบัติการโดยคัดไก่ที่มีอาการหน้าบวมและติดเชื้อเป็นหนองในโพรงจมูกส่งตรวจ

              การรักษาควรให้ยาปฏิชีวนะที่มีความไวในการฆ่าเชื้อโรค แต่ถ้าไก่มีอาการรุนแรงควรคัดไก่ออกจากฝูงเนื่องจากมีความเสี่ยงในการเป็นพาหะในการแพร่กระจายเชื้อโรคในฝูงต่อไป

น.สพ. ศุภสกล จรัสไพบูลย์

              Assistant Poultry Technical Manager

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า