พยาธิเม็ดเลือดมาแล้ว…ควรเตรียมพร้อมป้องกันอย่างไร​ ASPRUMSTORY #44

ASPRUMSTORY #44 แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์

ตอน ”พยาธิเม็ดเลือดมาแล้ว…ควรเตรียมพร้อมป้องกันอย่างไร”
โดย : สพ.ญ.ปวัสดา แสนล้อม สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง เอเอสพี รูมิแนนท์ ในเครือเวทโปรดักส์

พยาธิเม็ดเลือด เป็นโรคที่สำคัญในโคและกระบือ เนื่องจากประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้น เหมาะกับการเพิ่มจำนวนพาหะ ได้แก่ ยุง ริ้น เห็บ เหลือบ เป็นต้น โดยพยาธิเม็ดเลือดเกิดจากโปรโตซัวซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำเลือดหรือในเม็ดเลือดแดง และมีการเพิ่มจำนวนโดยอาศัยองค์ประกอบของน้ำเลือดของสัตว์
พยาธิในเลือดที่สำคัญที่พบในประเทศไทย ได้แก่
1.อะนาพลาสมา (Anaplasma sp.)
2.บาบีเซีย (Babesia sp.)
3.ไทเลอเรีย (Theileria sp.)
4.ทริฟพาโนโซม (Trypanosome sp.) เป็นต้น
โดยพยาธิ 3 ชนิดแรก มีเป้าหมายอยู่ที่เม็ดเลือดแดงของโค มีผลท้าให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตก แต่สำหรับทริฟพาโนโซมอยู่ในพลาสมาของเลือด(น้ำเลือด)
อาการที่พบ
-อาการส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน ได้แก่ โลหิตจาง มีไข้สูง แท้งลูก เยื่อเมือกซีดหรือออกเหลือง อ่อนแอ หายใจหอบหรือแรง ลุกยาก ผอม กินอาหารลดลง และไม่เป็นสัด -อาการที่จำเพาะ เช่น
> ทริปพาโนโซม จะมีอาการการรบวมน้ำ > บาบีเซีย จะมีปัสสาวะเป็นสีน้ำโค้ก (น้ำปัสสาวะมีสีเข้มมากขึ้นจนบางครั้งเกือบดำและมีดีซ่าน) > ไธเลอเรีย ขาหลังอ่อนแรง ต่อมน้ำเหลืองบวมโต วิธีวินิจฉัย 1. ดูจากอาการและวัดอุณหภูมิร่างกาย อาทิ ให้แหวกเปิดอวัยวะเพศ(เมีย) หรือเยื่อเมือกตา (ผู้) ดูว่า เยื่อเมือกมีสีซีดหรือออกเหลืองกว่าปกติมั้ย โดยเปรียบเทียบกับวัวตัวที่แข็งแรงปกติ และวัดไข้โดยใช้ปรอท วัดทางทวารหนัก (ต้องไม่สูงกว่า 38.5 องศาเซลเซียส) 2. เจาะเลือดทำฟิล์มบางบนสไลด์ (Thin blood smear) ย้อมด้วยสี Giemsa นำไปตรวจหาเชื้อด้วยกล้องจุลทรรศน์ลำแสงส่องผ่าน กำลังขยาย 400-100 เท่า : การเจาะเลือดต้องเจาะเลือด(ใส่ขวดที่มี EDTA ป้องกันเลือดแข็งตัว)

  1. ในสัตว์ตายให้ใช้สไลด์ไปแต้มเลือดจากอวัยวะพวก ตับ หัวใจ ม้าม ไต และ สมองแล้วย้อมด้วยสียิมซ่า นำไปตรวจหาเชื้อต่อไป
    การป้องกัน 1. ควบคุมแมลงดูดเลือด ได้แก่ เห็บ เหลือบ ยุง ริ้น 2. ควบคุมการเคลื่อนย้ายโค
  2. แยกโคออกจากสัตว์ป่าบางชนิดที่อาจเป็นตัวกักโรคนี้ 4. การตรวจหาสัตว์ที่เป็น carrier แล้วทำลาย
    แนวทางการรักษา 1. อะนาพลาสม่า สามารถทำการรักษาโดยใช้การใช้ยา Oxytetracycline 20 mg/kg หรือ Imidocarb dipropionate (Imizol) ขนาด 2-3 mg/kg 2. บาบีเซีย สามารถทำการรักษาโดยใช้การใช้ยา Diminazine aceturate (Berenil) 3.5 mg/kg หรือ Imidocarb dipropionate (Imizoll) 1.2 mg/kg 3. ไธเลอเรีย สามารถทำการรักษาโดยใช้การใช้ยา Buparvaquone 4. ทริปพาโนโซม สามารถทำการรักษาโดยใช้การใช้ยา Diminazine aceturate (Berenil) หากไม่ทราบว่าป่วยด้วยพยาธิเม็ดเลือดชนิดใด หรือหลายชนิดรวมกัน แนะนำให้ดูจากข้อมูลการระบาดรอบข้างประกอบ หรือแจ้งสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้การให้ยาในเชิงป้องกันในวัวควายที่ปกติ มักไม่นิยมทำกัน เว้นเสียว่ามาจากฝูงที่มีการระบาดมากชัดเจน

📌 แหล่งที่มา : https://ag2.kku.ac.th/eLearning/127462/Doc%5Cchapter5.pdf 📌หากสนใจติดต่อ ผ่านทางลิงค์นี้ค่ะ https://lin.ee/Z8tJPWD

ASPRuminantValue

มอบคุณค่าแก่เกษตรกรไทย

BeefCattle

DairyCow

ASPRuminant

ผู้จำหน่ายเวชภัณฑ์และสารเสริมในสัตว์เคี้ยวเอื้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า