จัดการอย่างไรไม่ให้มีปัญหา โรคนิวคาสเซิลในไก่ มากวนใจ

จัดการอย่างไรไม่ให้มีปัญหา โรคนิวคาสเซิลในไก่ มากวนใจ

              การจัดการที่สำคัญยังเป็นเรื่องระบบการป้องกันโรคและการให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ โดยบ่อยครั้งที่พบว่าผู้ประกอบการฟาร์มหรือเกษตรกรทราบและเข้าใจแต่ละเลยการปฏิบัติ โดยจุดเสี่ยงที่สำคัญที่มักเป็นปัจจัยในการเกิดโรค ได้แก่ การควบคุมการเข้า-ออกฟาร์มของคนและรถไม่ดีพอ การขนส่งต่างๆ เช่น การเคลื่อนย้ายไก่ การขนส่งไข่ การขนส่งอาหาร รวมไปถึงภาวะความเครียดจากสิ่งต่างๆที่ส่งผลให้กดภูมิคุ้มกัน เช่น เลี้ยงไก่หนาแน่น การระบายอากาศไม่เพียงพอ ปัจจัยเหล่านี้มักส่งผลให้เกิดโรคตามมาได้

              ในเรื่องการให้วัคซีน มีประเด็นที่ถกเถียงกันเรื่องวิธีการให้ ทั้งการสเปรย์ ละลายน้ำ และหยอดตา โดยพบว่าแท้จริงแล้ววิธีการให้ไม่สำคัญเท่ากับประสิทธิภาพของการให้ ซึ่งผู้ที่รับผิดชอบควรมีการตรวจสอบหน้างานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งเรื่องของระยะเวลาการให้และการตรวจสอบสีที่ปาก เพราะหากรอตรวจสอบระดับภูมิคุ้มกันหลังการให้วัคซีนจะช้าเกินควร อีกกระบวนการหนึ่งที่ควรให้ความสำคัญคือกรณีการรับไก่สาวเข้ามาเลี้ยงควรมีกระบวนการตรวจรับและตรวจสอบคุณภาพ โดยชั่งน้ำหนัก ตรวจเช็ค Uniformity ของฝูง เก็บตัวอย่างเลือดตรวจภูมิคุ้มกัน และเก็บตัวอย่าง Swab ตรวจหาเชื้อไวรัส เพื่อทราบถึงสถานะของฝูงและตั้งรับจัดการในช่วงให้ผลผลิตต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า