การเลี้ยงกระบือ และเลี้ยงแล้วได้อะไรบ้าง?? ASPRUMSTORY #43

ASPRUMSTORY #43 แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์

ตอน “การเลี้ยงกระบือ และเลี้ยงแล้วได้อะไรบ้าง????”
โดย : ศราวุธ หมั่นถนอม ฝ่ายขายและวิชาการ ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง เอเอสพี รูมิแนนท์ ในเครือเวทโปรดักส์

ควายหรือกระบือ เป็นสัตว์ที่อยู่คู่คนไทยมานาน มีความสำคัญทั้งด้านการขนส่งในอดีตและการเกษตรในปัจจุบัน

สายพันธุ์กระบือ แยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ กระบือป่า และ กระบือบ้าน แบ่งเป็น
1. กระบือปลัก มีลักษณะล่ำสัน ขนสีเทา-ดำ/เข้ม เขาโค้งกว้าง มีขนสีขาวรูปตัววีที่คอ ชอบนอนแช่ปลัก แข็งแรงเหมาะใช้งาน พบได้ในประเทศต่างๆ เช่น ไทย ฟิลิฟปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย พม่า จีนตอนใต้ กัมพูชา ลาว ฯลฯ
2. กระบือแม่น้ำ หรือ “ควายนม” มีต้นกำเนิดจากอินเดีย ใช้ในการรีดนม ลักษณะตัวใหญ่ดำ หน้าผากนูน เขาม้วนงอสั้น สามารถให้นมเฉลี่ย 2,000 กก. ต่อ 9-10 เดือนของช่วงการให้นม ตัวผู้หนักประมาณ 550 ก.ก. ตัวเมียหนักประมาณ 450 ก.ก. ลูกควายแรกเกิดหนักประมาณ 30-35 ก.ก.
3. กระบือลูกผสม เป็นการผสมระหว่างกระบือปลักกับกระบือแม่น้ำ มีลักษณะเขาโค้งออกข้าง ชี้ขึ้นบน หรือบิดเล็กน้อย ผิวหนังมีจุดสีดำ หัวมีลักษณะไปทางควายมูร่าห์ แต่หน้าผากไม่นูนเด่นมาก เต้านมเจริญดีกว่าควายปลัก ใช้งานได้ดีเช่นเดียวกับควายไทย
คอกที่อยู่
ควรมีพื้นที่ 4-5 ตร.ม./ตัว มีรางอาหารและอ่างน้ำดื่มที่ด้านนอกคอก (ป้องกันไม่ให้ควายลงแช่น้ำในอ่าง) พื้นคอกควรเป็นพื้นปูน และควรมีร่องลาดเทไปทางด้านหลังให้มูลไหลรวมที่บ่อหมักเพื่อทำปุ๋ยต่อไป

การเลี้ยงและให้อาหาร
แหล่งพลังงาน จากแป้งและคาร์โบไฮเดรต เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด ปลายข้าว กากน้ำตาล หรือแหล่งพลังงานจากไขมันพืช/สัตว์
โปรตีน เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และปลาป่น ฯลฯ
แร่ธาตุ 15 ชนิด ทั้งที่ร่างกายต้องการมาก-น้อย และวิตามินทั้งที่ละลายได้ในไขมัน (มักพบในพืชสด) และวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ (สร้างเองได้จากจุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร)
จากการศึกษาในบทความของ Wanapat และ Wachirapakorn สรุปได้ว่าควายปลักที่ได้รับอาหารหยาบจะเติบโตได้ดีกว่าและให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจดีที่สุด

เลี้ยงควาย แล้วได้อะไรบ้าง ??
1.ใช้แรงงาน เช่น เตรียมไถนา และคราดนวดข้าว ลากเกวียน เมื่ออายุมาก – ปลดระวาง จะถูกขายเป็นเนื้อต่อไป

  1. ปุ๋ยมูล ใช้ฟื้นฟู เพิ่มแร่ธาตุ-อินทรียวัตถุในดิน และฟื้นฟูจุลินทรีย์ ไส้เดือน และแมลงต่างๆ
  2. ผลิตเนื้อคุณภาพดี อร่อยและเป็นที่ต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะในภาคอีสานที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอาหาร เนื้อควายมีปริมาณไขมันและไตรกลีเซอไรด์น้อย เมื่อเทียบกับเนื้อไก่ เนื้อวัว และเนื้อปลา และเสี่ยงต่อสารเคมีและยารักษาน้อยด้วยเช่นกัน เมื่อเทียบกับการผลิตเนื้อวัวในแถบประเทศที่พัฒนาแล้ว
    ปัจจุบันฟาร์มควายได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อให้ทำตลาดส่งออกแข่งกับต่างประเทศ เช่น มาเลเซีย ที่กำลังนิยมขายตามห้าง ติดฉลาก “buffalo meat” และมีการผลิตเนื้อคุณภาพพิเศษ คือ “natural grass-fed” ที่นิยมในหมู่คนรักสุขภาพ
    4.การเลี้ยงควายสวยงาม เป็นที่นิยมในไทย มีมูลค่าสูงตั้งแต่หลักแสน-ล้าน เพราะมีรูปลักษณ์สวย สมส่วนตามสายพันธุ์ ไม่ดุร้าย คล่องแคล่ว ปราดเปรียว
    นอกจากนี้การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์เพื่อผลิตลูก หรือขายน้ำเชื้อก็สามารถสร้างรายได้ดีแก่เกษตรกรด้วยเช่นกัน

กดเพิ่มเพื่อ “ASP Ruminant” official account เพื่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์และติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผ่านทางลิงค์นี้ค่ะ https://lin.ee/Z8tJPWD

คุณภาพเนื้อ

วัวนมเพศผู้

ASPRuminant

ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์และสารเสริมในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

📌 แหล่งที่มา : คู่มือการเลี้ยงกระบือไทย, กรมปศุสัตว์
www. kaset.today

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า