สารพิษจากเชื้อรา สิ่งที่มองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง!!! กับเชื้อราในสุกร ? by : ศูนย์วิจัยและพัฒนาVRI

สารพิษจากเชื้อรา สิ่งที่มองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง!!! กับเชื้อราในสุกร ? by : ศูนย์วิจัยและพัฒนาVRI

สารพิษจากเชื้อรา หนึ่งในภัยเงียบที่สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน สารพิษจากเชื้อรา หรือ Mycotoxins เป็นสารพิษธรรมชาติที่สร้างจากเชื้อรา มักพบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราในผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารของมนุษย์และสัตว์ ภายใต้สภาวะอุณหภูมิ ความชื้นและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมจะสามารถพบการปนเปื้อนสารพิษดังกล่าวได้ง่าย สารพิษจากเชื้อรายังก่อให้เกิดความเสียหายต่อการส่งออก เกิดการสูญเสียด้านคุณภาพของผลผลิต อีกทั้ง สารพิษจากเชื้อรายังส่งผลกระทบต่อสุขภาพสัตว์โดยตรงอีกด้วย เช่น ในสุกรและสัตว์ปีก เป็นต้น สารพิษจากเชื้อราที่มักก่อปัญหาในปัจจุบัน ประกอบด้วย อะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin), ออคราท็อกซิน เอ (Ochratoxin A), ทีทูท็อกซิน (T-2 toxin) , ดีอ๊อกซี่นิวาลีนอล (Deoxynivalenol: DON), ฟูโมนิซิน (Fumonisins FB1, FB2), ซีราลีโนน (Zearalenone) และ เออร์กอต อัลคาลอยด์ (Ergot alkaloids) ในบทความนี้ VPG ขอยกตัวอย่างผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราดังกล่าวที่มีผลต่อสุกร ให้ผู้อ่านได้เข้าใจโดยสังเขป

ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราในสุกร

  1. ตับ : Aflatoxins (Aflatoxin B1), Fumonisins, Ochratoxin A

– ตับทำงานผิดปกติ เกิดมะเร็งในตับ ตับซีดเหลือง เปื่อยยุ่ย เกิดเนื้อตาย

  1.  ไต : Ochratoxin A, Aflatoxins, Fumonisins

– การขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ ปริมาณการกินน้ำมากขึ้น เกิดภาวะที่มียูเรียในกระแสเลือด พบรอยโรคที่ไต

  1.  ระบบสืบพันธุ์ : Zearalenone, Deoxynivalenol (Vomitoxin)

แม่สุกร: ท้องเทียม, เกิดการเป็นสัดไม่สม่ำเสมอ, แท้ง อัตราการผสมติดต่ำ ช่องคลอดและลำไส้โผล่ออกมาจากทวารหนัก

ลูกสุกร: ไม่แข็งแรง, ปากช่องคลอดบวมแดง เกิดภาวะตายคลอด

พ่อสุกร : เกิดการฝ่อตัวของลูกอัณฑะ

  1.  ทางเดินอาหาร : Deoxynivalenol (Vomitoxin), T-2 Toxin, Fumonisins, Aflatoxins

– การกินอาหารลดลง ระบบการย่อยอาหารผิดปกติ ลำไส้ทำงานผิดปกติ, ท้องเสีย และอาเจียร มีภาวะเลือดออก

  1. ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ

– ลูกสุกรอ่อนแอ เนื่องจากมีการปนเปื้อนผ่านน้ำนม (Aflatoxins)

– ปอดบวมน้ำ (PPE) (Fumonisins)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า