ASPRUMSTORY #41 แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์
ตอน “หญ้าหมักยาก เน่าง่าย จะลดการสูญเสียได้ยังไง?”
โดย : สพ.ญ.ฉัฐญาภรณ์ เพิ่มทรัพย์ สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง เอเอสพี รูมิแนนท์ ในเครือเวทโปรดักส์
🌱หญ้าหมัก เป็นการถนอมเก็บรักษาคุณภาพของอาหารหยาบไว้ใช้เป็นอาหารสัตว์ในช่วงที่ขาดแคลนหญ้าสด ซึ่งหญ้าหมักที่ดีต้องมีความน่ากินสูง หอม เป็นเชื้อราและเน่าเสียน้อย ซึ่งการหมักหญ้าหมักให้ได้คุณภาพที่ดี ควรปฎิบัติตาม 5 แนวทาง ดังนี้
- การเตรียมพืชที่เข้าหมักที่ดี
• มีการควบคุมคุณภาพของพืช ระยะเวลาการตัดที่เหมาะสม ไม่อ่อนหรือแก่เกินไป
• มีระดับความชื้นที่เหมาะสม
• ขนาดของชิ้นพืชประมาณ 1 – 2 เซนติเมตร เพื่อช่วยในเรื่องของการบดอัดแน่น - การเตรียมกระบวนการหมักที่ดี
• การบดอัดที่แน่น ลดปริมาณออกซิเจนให้ได้มากที่สุด
• นำเข้ากระบวนการหมักให้เร็วที่สุด
• ตรวจสอบให้มั่นใจว่าบ่อหมักมีการปิดสนิท ไม่มีการรั่วซึม - การหมักที่มีประสิทธิภาพ
• ระยะเวลาในการหมักสมบูรณ์ (ประมาณ 14 – 21 วัน)
• ระดับของ pH ในการหมักต่ำว่า 4 - การเปิดบ่อ
• ระยะเวลาหลังจากการเปิดบ่อหญ้าหมัก เป็นผลให้มีออกซิเจนเข้าไปในบ่อ หากเปิดใช้นานอาจทำให้เกิดการเน่าเสียได้ - การใช้จุลินทรีย์ในการช่วยหมัก
• ช่วยให้กระบวนการหมักมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น pH ลดลงต่ำกว่า 4 ได้รวดเร็วขึ้น คงคุณค่าจากพืชไว้ได้ดี
• ลดการเจริญของเชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ หรือเชื้อรา ที่ทำให้เกิดการเน่าเสีย
• ช่วยในการตรึงออกซิเจน คงคุณภาพหลังการเปิดใช้ได้ดี
• เพิ่มความน่ากินของหญ้าหมักมากขึ้น
ดังนั้นนอกจากการเตรียมพืชและการควบคุมกระบวนการหมักที่ดีแล้วนั้น หนึ่งในตัวช่วยให้การหมักมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นคือการใช้จุลทรีย์ในการช่วยหมัก ทำให้ได้หญ้าหมักที่มีคุณภาพและสูญเสียน้อยลง
กดเพิ่มเพื่อ “ASP Ruminant” official account เพื่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์และติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผ่านทางลิงค์นี้ค่ะ https://lin.ee/Z8tJPWD