ASPRUMSTORY #39 แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์

ASPRUMSTORY #39​แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์

ตอน “แร่ธาตุ…แบบคีเลต คืออะไร ทำไมลดปัญหาการผสมไม่ติดได้ดีกว่า???”
โดย : สพ.ญ.ปวัสดา แสนล้อม สัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์ด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง เอเอสพี รูมิแนนท์ ในเครือเวทโปรดักส์

การผสมไม่ติด ถือเป็นปัญหาที่ท้าทายเกษตรกรผู้เลี้ยงอย่างมากและทั้งยังเป็นปัญหาหลักที่สัตวแพทย์ยังต้องแก้ไขปัญหานี้เรื่อยมา เนื่องจากปัญหานี้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิต เช่น กรณีของโคนมจะส่งผลต่อระดับน้ำนมภาพรวม ส่วนโคเนื้อหรือโคแม่พันธุ์ก็อาจส่งผลต่อจำนวนสัตว์ในภาพรวมและยังมีผลต่อต้นทุนการรักษาที่สูงขึ้นด้วย ดังนั้นการจัดการที่เหมาะสมทั้งทางด้านการจัดการฟาร์มและการจัดการด้านอาหารจึงเป้นแนวทางหลักในการลดปัญหาเหล่านี้ลงไป

การให้แร่ธาตุรอง อย่างเช่น ทองแดง, แมงกานีส และสังกะสี นั้นถึงแม่จะให้ในปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็นต่อสุขภาพและระบบสืบพันธุ์ของโคอย่างมาก เนื่องจากมันมีผลต่อกระบวนการในร่างกาย อันได้แก่
1.กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน
2.กระบวนการเมทาบอลิซึมของวิตามิน
3.การสร้างเนื้อเยื่อ
4.การสร้างระบบภูมิคุ้มกัน

โดยทั่วไปในอาหารโคส่วนใหญ่จะมีองค์ประกอบของแร่ธาตุที่เสริมเข้าไปในรูปแบบของแร่ธาตุอนินทรีย์ เช่น ในรูปเกลือออกไซด์, เกลือคลอไรด์, เกลือซัลเฟต และเกลือคาร์บอเนต ซึ่งแต่ละรูปแบบฟอร์มนี้มีความสัมพันธ์กับระบบทางเดินอาหารของสัตว์ โดยเฉพาะหากมีการให้พร้อมอาหารจะเกิดการลดประสิทธิภาพการดูดซึมลงไป ซึ่งส่งผลให้สัตว์ไม่สามารถนำแร่ธาตุไปใช้ได้อย่างเต็มที่

ปัจจุบันมีงานวิจัยที่น่าสนใจ พบว่าการให้แร่ธาตุในอีกรูปแบบหนึ่ง ได้แก่แร่ธาตุอินทรีย์ หรือเราเรียกกันว่าแร่ธาตุคีเลต สามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพของโคได้ดีกว่าการให้ในรูปแบบอนินทรีย์ และส่งผลต่อการเพิ่มการดูดซึมได้ในระบบทางเดินอาหารและพบว่าเพิ่มการกระจายทั่วร่างกายได้ดีกว่า อย่างเช่น
-รูปแบบกรดอะมิโนคีเลต (metal amino acid chelates)
-รูปแบบคอมเพล็กซ์คีเลต (metal complexes)
-รูปแบบเมทไทโอนีนไฮดรอกซีลอะนาล็อคคีเลต (metal methionine hydroxyl analog chelates)
-รูปแบบโปรตีเนตคีเลต (metal proteinates )
-รูปแบบโปรปิโอเนต (metal propionates)

งานวิจัยพบว่าแร่ธาตุรูปแบบอินทรีย์นั้น ถึงแม้ให้ในจำนวนน้อยกว่าแบบอนินทรีย์ แต่ยังให้แร่ธาตุที่นำไปใช้ได้ในปริมาณไม่แตกต่างกัน

แร่ธาตุรองที่กล่าวมามีความสำคัญต่อระบบสืบพันธุ์อย่างไร
1.ในช่วงการพัฒนาของไข่และระบบสืบพันธุ์ : แร่ธาตุมีผลในการเสริมประสิทธิภาพการทำงานของฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระบบสืบพันธุ์ อย่างเช่น GnRH ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกระตุ้น FSH และ LH ดังนั้นจึงมีผลช่วยลดปัญหา ได้แก่
-ลดปัญหาการเกิดรกค้าง
-ลดปัญหาเต้านมอักเสบ
-ลดปัญหาการเกิดซิสต์ที่รังไข่
-ลดปัญหาการตายของตัวอ่อน
2.ในพ่อโคหรือโคพ่อพันธุ์ : แร่ธาตุเกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมน Testosterone และ GnRH ซึ่งเกี่ยวข้องกับความสมบูรณ์พันธุ์ในพ่อโค และยังส่งผลต่อการเจริญของตัวสเปิร์มอีกด้วย ดังนั้นจึงช่วยเสริมดังนั้น
-ช่วยปกป้องให้สเปิร์มแข็งแรงขึ้น
-ช่วยให้พ่อโคแสดงอาหาร Libido ชัดเจน

และหากโคได้รับการเสริมแร่ธาตุด้วยแร่ธาตุคีเลต จะยิ่งส่งเสริมประสิทธิภาพการดูดซึมและทำให้โคสามารถนำไปใช้ต่อประสิทธิภาพของตัวสัตว์เองได้ดียิ่งขึ้น

ที่มา : https://www.feedstuffs.com/story-chelated-minerals-help-lameness-infertility-cows-54-150068

กดเพิ่มเพื่อ “ASP Ruminant” official account เพื่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์และติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผ่านทางลิงค์นี้ค่ะ https://lin.ee/Z8tJPWD

สถานการณ์โคเนื้อไทยและการส่งออก(2564)

CowReproductive

ASPRuminant

ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์และสารเสริมในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า