โรคไวรัสปอดที่สำคัญ อันตรายในวัว​ASPRUMSTORY

ASPRUMSTORY #49

แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์

ตอน “โรคไวรัสปอดที่สำคัญ อันตรายในวัว”
โดย : นายอัครสิทธิ์ โอภาษี ฝ่ายขายและวิชาการ
ทางด้านสัตว์เคี้ยงเอื้อง เอเอสพี รูมิแนนท์ ในเครือเวทโปรดักส์

📌 โรคไวรัสปอด
ถือเป็นอีกปัญหาที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคส่วนใหญ่มักจะพบเจอ
ซึ่งโรคดังกล่าวสามารถส่งผลให้โคมีสุขภาพและผลผลิตที่แย่ลง
และอาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากเกษตรกรไม่ได้
มีมาตรการป้องกัน จะส่งผลให้มีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
ภายในฟาร์ม และยังส่งผลให้มีต้นทุนทางด้านการจัดการ
แรงงาน และยารักษาโรคเพิ่มมากขึ้น

จากผลการสำรวจภูมิคุ้มกันโรคไวรัสปอดที่สำคัญในประเทศไทย
พบว่ามีไวรัส 4 สายพันธุ์ ดังต่อไปนี้

  1. Bovine Viral Diarrhea (BVD)
  2. Infectious Bovine Rhinotracheitis (IBR)
  3. ParaInfluenza 3 (PI-3)
  4. Bovine Respiratory Syncytial (BRS)

📌 อาการที่พบ
โคส่วนใหญ่ที่มีการรับเชื้อไวรัสดังกล่าวเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ
มักจะมีอาการของโรคปอดบวม หายใจหอบ ไอ มีน้ำมูก ไข้สูง
และโดยเฉพาะในกลุ่มของลูกโคอาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
เนื่องจากมีภูมิคุ้มกันต่ำกว่าโคในรุ่นอื่นๆ

📌 สาเหตุของการเกิดโรค

  1. โรงเรือนไม่ถูกสุขลักษณะ เช่น คอกสกปรก ชื้นแฉะ
    อากาศถ่ายเทไม่สะดวก มีฝุ่นละอองมาก
    โคอยู่ร่วมกันอย่างแออัด เป็นต้น
  2. โคมีร่างกายอ่อนแอ เนื่องจากภาวะขาดอาหาร
  3. ลูกโคได้รับนมน้ำเหลืองไม่พอ
  4. มีพยาธิในปอดและในลําไส้มาก
  5. สําลักน้ำ หรือน้ำนม เศษอาหาร หรือสิ่งแปลกปลอม
  6. สูดดม หรือกินสารเคมี
  7. เกิดจากความเครียดต่างๆ เช่น การขนส่งเคลื่อนย้าย
    การเปลี่ยนที่อยู่ การเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศ
    มีฝนตกชุก อากาศร้อน หรือหนาวเย็นเกินไป เป็นต้น
  8. สาเหตุอื่นๆ เช่น ภาวะภูมิแพ้ต่างๆ
    หรือมีวัตถุแปลกปลอมแทงทะลุผนังอกเข้าสู่ปอด

📌 การป้องกัน
ควรมีการสุขาภิบาลโค เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพโคให้ดีอยู่เสมอ
และควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่จะทำให้โคเกิดภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
ซึ่งจะง่ายต่อการติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น และแนวทางการป้องกันที่ดีสุด
คือควรจะมีการทำวัคซีนให้กับโคร่วมด้วย

📌 การทำวัคซีน
การทำวัคซีนไวรัสโรคปอดในปัจจุบัน มักจะนิยมเป็นวัคซีนรวม
โดยจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ซึ่งจะแนะนำการฉีดในโคอายุ 6 เดือนขึ้นไป
และควรกระตุ้นเข็มที่ 2 หลังจากเข็มแรก 2-4 สัปดาห์
หลังจากนั้นควรจะทำการกระตุ้นปีละครั้ง

📌 แหล่งอ้างอิงข้อมูล
ภัทรภร ทัศพงษ์. เอกสารประกอบการเรียนเรื่อง “ โรคและควบคุมโรคในสัตว์เคี้ยวเอื้อง” ที่มา: https://www.agi.nu.ac.th/science/121113บทที่%2014%20โรคและการสุขาภิบาลสัตว์เคี้ยวเอื้อง.pdf

เพจการใช้วัคซีนสำหรับสัตว์. โรคระบบทางเดินหายใจในโค Bovine respiratory disease (BRD). ที่มา : https://www.facebook.com/thailandvaccine/photos/a.1515343911841928/1517381724971480/?type=3

สอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์และติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการสัตว์เคี้ยวเอื้อง
ผ่านทางลิงค์นี้ค่ะ https://lin.ee/Z8tJPWD

ASPRuminant

ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์และสารเสริมในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า