#เชื้อราในสัตว์ปีก สารพิษจากเชื้อรา สิ่งที่มองไม่เห็นแต่มีอยู่จริง!!!
จากตอนที่แล้ว เราได้ทราบถึงความหมายและผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อการส่งออก รวมถึงผลกระทบที่มีต่อสุขภาพของสุกร และทางองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of the United Nations หรือ FAO) ได้รายงานไว้ว่ามากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ของผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกมีการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา ดังนั้น การปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรายังคงเป็นปัญหาที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทางด้านปศุสัตว์ของไทย มีงานวิจัยจำนวนมากที่ทำการศึกษาเพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา ดังนั้นขอยกผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราที่มีต่อสัตว์ปีก ให้ผู้อ่านได้เข้าใจโดยสังเขป ดังนี้
ผลกระทบของสารพิษจากเชื้อราในสัตว์ปีก
- ตับ : Aflatoxins, Ochratoxin A, Fumonisins
– เกิดมะเร็งที่ตับ ตับ ม้ามและต่อมเบอร์ซ่าโต เกิดการเปลี่ยนแปลงของเนื้อสัมผัสและสีของตับและกึ๋น
2. ไต : Ochratoxin A, Aflatoxins, Fumonisins
– ไตทำงานผิดปกติ ไตมีลักษณะบวมน้ำ อักเสบ เกิดเนื้อตาย ซีด
- ระบบสืบพันธุ์ : Zearalenone, Deoxynivalenol (Vomitoxin), T-2 Toxin, Ochratoxin A
– อัตราการฟักไข่และสมรรถภาพการผลิตไข่ลดลง เกิดซีสต์ที่รังไข่ ตัวอ่อนตาย ความสมบูรณ์พันธุ์เกิดช้า
- ทางเดินอาหาร : T-2 Toxin, Fumonisins, Deoxynivalenol (Vomitoxin), Aflatoxins
– อัตราการกินอาหารและน้ำหนักลดลง ปฏิเสธการกินอาหาร เกิดรอยโรคในระบบทางเดินอาหาร พบที่จะงอยปาก(Beak) ช่องปาก กระเพาะบด ลำไส้
- ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ
– อัตราการตายสูงขึ้น เกิดรอยโรคของผิวหนัง พบเนื้อตาย เกิดการชะลอการเจริญเติบโต มีผลทางระบบประสาท