ซ้อมหนีไฟ พร้อมรับมือ ASF ในภาวะฉุกเฉิน
ทำไมต้องซ้อมหนีไฟ!!! จุดประสงค์ของการซ้อมหนีไฟ เพื่อ
1. เป็นการซ้อมแผนงานจากคู่มือ SOP ที่ฟาร์มได้ทำไว้
2.เจ้าของฟาร์มและพนักงานในฟาร์มมีการเฝ้าระวังและเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
3. เจ้าของฟาร์ม พนักงานฟาร์ม และผู้เกี่ยวข้อง ทำความเข้าใจถูกต้องและตรงกัน ในการรับมือกับ ASF
4. พนักงานมีการแบ่งงาน ทำงานร่วมกัน รับผิดชอบร่วมกันเป็นทีม
ขั้นตอนการซ้อมหนีไฟ มี 10 ขั้นตอนดังนี้
1. สำรวจสถานที่จริงเพื่อวางแผนจากผังฟาร์ม
2. แบ่งการทำงานเป็นทีม โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 ทีม คือ 1. ทีม LAB สำหรับตรวจตัวอย่าง 2.ทีมจัดการสุกรป่วย 3.ทีมจัดการสุกรตาย 4.ทีมจัดการสุกรปกติ และ 5. ทีม Biosecurity โดยจัดให้มีหัวหน้าทีม และทำความเข้าใจหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานให้ชัดเจน
3. เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม และพอเพียง เช่น อุปกรณ์การเก็บตัวอย่าง เครื่อง PCR อุปกรณ์ฆ่าเชื้อ อุปกรณ์สำหรับเคลื่อนย้ายสุกร เป็นต้น
4. ทำการตรวจสอบ Biosecurity เพื่อสำรวจข้อบกพร่อง และปรับปรุงให้ได้ 100%
5. วางแผนการ flow งานตามขั้นตอนเพื่อให้ทำงานสอดคล้องกัน
6. กำหนดเส้นทางในการทำงาน เส้นทางปกติ และเส้นทางสำหรับการขนย้ายสุกรป่วย/ตาย
7. กำหนดการทำลายสุกรป่วย/ตาย และวิธีการทำลาย
8. กำหนดการเก็บตัวอย่าง และวิธีการเก็บที่ถูกต้อง
9. กำหนดวิธีการ และสถานที่ กรณีต้องนำสุกรออกจากโรงเรือน
10. ซ้อม หรือจำลองสถานการณ์จริง เพื่อเตรียมความพร้อมของพนักงาน
หากฟาร์มมีการซ้อมหนีไฟไว้แล้ว เวลาเจอสถานการณ์จริงจะสามารถรับมือกับโรคได้ โรคไม่แพร่กระจายและจะจำกัดอยู่แค่โรงเรือนที่เกิดเท่านั้น ทั้งนี้ฟาร์มที่สนใจสามารถรับคำแนะนำจากทีมวิชาการ iTAC ผ่านทางพนักงานฝ่ายขายและการตลาดในเครือเวทโปรดักส์ทุกท่าน