โรคท้องเสียจากเชื้อบิดในลูกโค วิธีการป้องกันและควบคุมทำได้อย่างไร​ ASPRUMSTORY #48

ASPRUMSTORY #48 แหล่งความรู้ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้องโดยเอเอสพีรูมิแนนท์

ตอน “โรคท้องเสียจากเชื้อบิดในลูกโค วิธีการป้องกันและควบคุมทำได้อย่างไร”
โดย : นายเดชน์สุวรรณ การสมเจต ฝ่ายขายและวิชาการ ทางด้านสัตว์เคี้ยวเอื้อง เอเอสพี รูมิแนนท์ ในเครือเวทโปรดักส์

โรคท้องเสียจากเชื้อบิดในลูกโค
ลูกโคแรกคลอดถึงอายุ 4 เดือน เป็นช่วงอายุที่ง่ายต่อการเจ็บป่วยและมักพบปัญหาท้องเสีย หากมีการจัดการที่ไม่เหมาะสม
การติดเชื้อโรคบิด เป็นโรคที่พบบ่อยในกลุ่มลูกโคอายุ 1-2 เดือน ถึงอายุ 1 ปี สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อกลุ่ม Eimeria spp ติดเชื้อผ่านทางการกิน oocysts ที่ปนเปื้อนอยู่ในมูลสัตว์
ในฟาร์มมักพบป่วยติดเชื้อได้มากช่วงฤดูฝน หรือช่วงอากาศชื้น หรือช่วงรอยต่อที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยภาวะโน้มนำที่ทำให้ติดเชื้อ เช่น การเลี้ยงในคอกหนาแน่น ทำให้มีมูลสะสมจำนวนมาก หรือการจัดการสุขาภิบาลคอกสกปรก

อาการที่พบของลูกโคที่ติดเชื้อบิด
• พบท้องเสีย อาจพบอุจจาระมีมูกเลือดปน กลิ่นเหม็นมาก ,ปวดเบ่ง หลังโก่ง
• อาจพบร่วมกับอาการไข้ ทำให้อ่อนเพลีย ไม่อยากอาหารหรือนม
• อาการขาดน้ำ สังเกตจากนัยน์ตาแห้งลึก
• โลหิตจาง
• อาจเกิดภาวะติดเชื้อแทรกซ้อนอื่นๆตามมา เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ
• ในโคที่ติดเชื้อปริมาณน้อย โคอาจไม่แสดงอาการท้องเสีย ไม่พบอาการผิดปกติ แต่จะมีการขับ oocyst ออกมาทางมูล จึงปนเปื้อนสะสมอยู่ภายในคอก
• มักไม่พบติดเชื้ออาการรุนแรง แต่สามารถป่วยเรื้อรัง และเติบโตช้าในระยะยาว

การตรวจวินิจฉัย : เก็บมูลส่งตรวจหาและนับจำนวน oocyst ของเชื้อบิด
วิธีป้องกันและควบคุม

  1. ไม่ควรเลี้ยงสัตว์จำนวนหนาแน่นเกินไป อากาศในคอกควรถ่ายเทสะดวก
  2. จัดวางรางน้ำและรางอาหารให้สูง ป้องกันไม่ให้อุจจาระและสิ่งสกปรกลงปนเปื้อนในราง
  3. ทำความสะอาดพื้นคอก ลดการสะสมมูล และเปลี่ยนวัสดุรองนอนเป็นประจำ ต้องแห้ง ไม่ชื้นแฉะ
  4. หากพบว่ามีสัตว์ป่วย ให้แยกสัตว์ป่วยออกจากฝูงทันที เพื่อลดการแพร่เชื้อไปสู่สัตว์ปกติตัวอื่นๆ
  5. มีโปรแกรมกำจัดสัตว์พาหะที่อาจเป็นตัวแพร่เชื้อในฟาร์ม

กดเพิ่มเพื่อ “ASP Ruminant” official account เพื่อสอบถามข้อมูลผลิตภัณฑ์และติดตามข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวงการสัตว์เคี้ยวเอื้อง ผ่านทางลิงค์นี้ค่ะ https://lin.ee/Z8tJPWD

โรคบิดในลูกโค

ลูกโคท้องเสีย

ASPRuminant

ผู้จัดจำหน่ายเวชภัณฑ์และสารเสริมในอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง

ข้อมูลอ้างอิง
ทัศนีย์ ชมภูจันทร์, มนัสนันนท์ ประสิทธิรัตน์ และมนยา เอกทัตร์ (บรรณาธิการ). 2539. คู่มือการดูแลสุขภาพโคนม” สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ. ฟันนี่พับบลิชิ่ง.
สพ.ญ. ฐิติมา วราวิทย์ และสพ.ญ.วีร่า พิวก์, โรคโคนมทั่วๆไปที่ควรรู้จัก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า