วิเคราะห์การปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา รู้ยังไงว่าแม่น!!!
วิธีการทดสอบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อราในอาหารหรือวัตถุดิบอาหารสัตว์นั้น มีการทดสอบหลายประเภท โดยมีทั้งแบบการตรวจเชิงปริมาณและการตรวจเชิงคุณภาพ
เทคนิคที่นิยมใช้ในการทดสอบ สามารถเรียงลำดับตามความแม่นยำจากน้อยไปมากได้แก่
(1) Mycotoxin Test Strips เป็นการตรวจแบบเชิงคุณภาพเท่านั้น โดยจะแสดงผลแค่ บวก หรือ ลบ
(2) กึ่ง Strips เป็นการตรวจเชิงคุณภาพ และสามารถบอกปริมาณการปนเปื้อนได้คร่าวๆเท่านั้น
(3) เทคนิคการตรวจวิเคราะห์แบบ ELISA หรือ Enzyme-linked immunosorbent assay เป็นเทคนิคที่ใช้หลักการทางภูมิคุ้มกันในการวิเคราะห์ ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง สามารถบอกได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพให้ผลการตรวจสอบที่ถูกต้องแม่นยำและมีความจำเพาะสูง ค่าใช้จ่ายไม่แพง
(4) เทคนิคที่ใช้ในงานทางด้านการวิจัยคือ เทคนิค HPLC หรือ LC-MS ซึ่งเป็นเทคนิคที่มีค่าใช้จ่ายที่สูง แต่ก็มีความแม่นยำที่สูงมากเช่นกัน ซึ่งเทคนิคนี้สามารถบอกได้ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
ปัจจุบันทางศูนย์วิจัย VRI ได้ทำการทดสอบการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อราในวัตถุดิบและอาหารสัตว์ร่วมกับสารมาตรฐานควบคู่กันไปด้วยทุกครั้ง หรือเรียกว่าการทำ standard curve ซึ่งถือว่าเป็นการทดสอบเพื่อวัดความถูกต้องและวัดความแม่นยำของเทคนิคการวิเคราะห์ โดยค่าที่ได้จะรายงานออกมาในรูปค่า R-squared (R2) ซึ่งหากค่า R2 มีค่าเข้าใกล้ 1 แสดงว่ามีค่าความแม่นยำสูง เพื่อการสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการทดสอบและการวิเคราะห์ผล
**หากสนใจการทดสอบการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา สามารถติดต่อฝ่ายขายในเครือเวทโปรดักส์