จัดการไม่ดีเชื้อวนเวียนไม่จบ การจัดการภายในโรงเรือน และของเสีย ในช่วงเกิดโรค ที่นี่มีคำตอบ!!!
เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นแล้วสิ่งสำคัญที่ต้องทำทันทีคือ หยุดกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรือนเช่น หยุดการผสม เชคสัด ในโรงเรือนอุ้มท้อง เป็นต้น หรือหยุดโปรแกรมต่างๆ ที่ทำกับลูกสุกรแรกคลอด/คลอดใหม่ ในโรงเรือนคลอดเป็นต้น เพื่อลดการสัมผัส ซึ่งเป็นความเสี่ยงอย่างยิ่งในการแพร่กระจายของเชื้อ คน/พนักงานฟาร์มต้องอยู่ในโรงเรือนตลอดเวลา ไม่ข้ามไปมาระหว่างโรงเรือน ทำได้เฉพาะการให้อาหารและเก็บกวาดมูล สำหรับโรงเรือนที่มีการระบาดของโรคเกิดขึ้นและสงบแล้วโดยตรวจสอบโดยให้ผล (-) จากการตรวจหาเชื้อโดยวิธี PCR อย่างน้อย 1-2 เดือน ทั้งนี้ให้ฟาร์มพิจารณาร่วมกับที่ปรึกษาฟาร์มในการกลับมามีกิจกรรมได้ตามปกติ โดยรูปแบบ new normal ในการลดการสัมผัสตัวสุกร หรือมีการสัมผัสให้น้อยที่สุด โดยใช้อุปกรณ์ หรือ เทคโนโลยีอื่น ๆ เข้าช่วย เช่น อุปกรณ์จับลูกสุกร สเปร์ยกลิ่นพ่อ เป็นต้น แต่กระบวนการฆ่าเชื้อในโรงเรือนยังต้องเข้มงวดเหมือนเดิม
อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญคือ เชื้อ ASF มีความทนต่อสภาพแวดล้อมสามารถอยู่ได้นานเป็นเดือน ต้องมีการจัดการของเสียและขยะที่เหมาะสม ในฟาร์มมีของเสีย 2 รูปแบบคือ 1.ของเสียที่เกิดจากสัตว์เช่น มูล ฉี่ 2.ของเสียที่ไม่ได้มาจากตัวสัตว์เช่น น้ำล้าง อาหารสัตว์ ขวดยา/วัคซีน เข็ม และขยะอื่น ๆ เป็นต้น หลักการคือจัดการให้อยู่ในระบบปิด เช่น รางระบายน้ำเสีย ขยะทั่วไปต้องแยกประเภท มีถังที่มีฝาปิดมิดชิด หรือจัดเก็บใส่ถุงแล้วมัด ป้องกันแมลงวัน หรือสัตว์พาหะอื่นๆ ทำการฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อหรือสารฆ่าเชื้อก่อนทุกครั้ง ขยะให้เผาทำลายทิ้ง ยกเว้นหากเผาไม่ได้ให้ฆ่าเชื้อแล้วฝัง เพื่อป้องกันการกระจายของเชื้อ และป้องกันการกลับมาเป็นโรคอีกครั้งจากเชื้อที่มีอยู่ในของเสีย/ขยะ นั้น สำคัญที่สุดคือต้องมีการตรวจสอบเฝ้าระวังเก็บตัวอย่างอยู่เสมอทั้งในโรงเรือนรวมถึงตัวอย่างของเสียด้วย เพื่อทวนสอบระบบการจัดการและการฆ่าเชื้ออยู่เสมอ และหากต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถขอคำปรึกษาได้จากพนักงานฝ่ายขายและการตลาดในเครือเวทโปรดักส์ในพื้นที่